top of page

2023

ผลจากแบบสำรวจ

ผลจากแบบสำรวจ : การจัดอันดับ

ผลการสำรวจถูกนำมาใช้จัดอันดับบริษัทตามระดับตั้งแต่ A ถึง D ขอชี้แจงว่าซิเนอร์เจีย แอนนิมอล ไม่ได้ตรวจสอบรายงานความคืบหน้าของบริษัท ข้อมูลและตัวเลขทั้งหมดนี้สรุปจากข้อมูลที่เราได้รับจากบริษัทแต่ละแห่ง

A

ระดับ

56 บริษัทเปลี่ยนไปใช้ไข่ไก่จากระบบปลอดกรงอย่างเต็มรูปแบบในเอเชีย หรือในระดับประเทศในทวีปเอเชีย บริษัทส่วนใหญ่ไม่ได้รับการติดต่อในการสำรวจในปีนี้ เนื่องจากดำเนินการเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้วในปีที่ผ่านๆ มา แต่เราเห็นว่าบริษัทเหล่านี้ก็สำคัญที่จะกล่าวถึง มีข้อยกเว้นคือ Mediterranea Restaurant by Chef Kamil และ Pizza Express Indonesia ซึ่งได้เปลี่ยนมาใช้เพียงไข่ไก่ไร้กรงเสร็จสิ้นแล้วในปีนี้

B

ระดับ

20 บริษัทให้คำมั่นพร้อมระบุระยะเวลาชัดเจน และได้เผยแพร่ข้อมูลความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายปลอดกรงในเอเชียหรือในระดับประเทศในเอเชีย โดยความคืบหน้าอยู่ในช่วง 0% ถึง 99%

C

ระดับ

31 บริษัทมีนโยบายไข่ไก่ปลอดกรง และเผยแพร่ข้อมูลความคืบหน้าในบางส่วน แต่ยังขาดข้อมูลความคืบหน้าในระดับภูมิภาคเอเชีย หรือระดับประเทศในเอเชีย

*

*นโยบายไข่ไก่ปลอดกรงของ Starbucks มีผลบังคับใช้เฉพาะสาขาที่บริหารโดยบริษัทเท่านั้น ซึ่งสำหรับเอเชียครอบคลุมเฉพาะสาขาในญี่ปุ่นและจีนเท่านั้น

D

ระดับ

13 บริษัทมีนโยบายไข่ไก่ปลอดกรง แต่ยังไม่มีการรายงานความคืบหน้า ทั้งระดับสากล ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ

*

*บริษัท Subway ณ เวลาที่จัดทำรายงานนี้ ยังไม่มีรายงานความคืบหน้าและยังไม่มีนโยบายไข่ไก่ปลอดกรงในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น

บริษัทมีความคืบหน้า

สองบริษัทจากอินโดนีเซีย ได้แก่ Mediterranea Restaurant by Chef Kamil และ Pizza Express เปลี่ยนไปใช้ไข่ไก่ปลอดกรงทั้งหมดแล้ว ทำได้สำเร็จตามคำมั่นสัญญาในปีนี้ ทำให้ทั้ง 2 บริษัทนี้อยู่ในระดับ A ร่วมกับบริษัทอื่นๆ อีก 55 แห่งเช่น M&S, Hain Celestial Group และ Danone

บริษัท 12 แห่งจาก 45 แห่ง (หรือ 26.7% ) ที่เราสํารวจในปี 2022 ได้ระดับที่สูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว Minor Food, Minor Hotels, Pizza Express, Compass Group, AutoGrill HMSHost, Hilton, Hyatt, ISS World, Radisson Hotel group, RBI, Unilever, และ The Peninsula Hotels เลื่อนขึ้นสู่ระดับ B
 

ตอนนี้ในระดับ C ลดลงจาก 54% เมื่อเทียบกับปี 2022  มาเป็น 47.7% ในปี 2023 และระดับ D ลดลงจาก 30% เป็น 20% ของบริษัททั้งหมดที่รายงานความคืบหน้าในช่วงเวลาเดียวกัน

ข้อมูลสำคัญจากรายงาน

ภาคธุรกิจที่มีจำนวนบริษัทถูกประเมินผลมากที่สุดคือโรงแรม ซึ่งนับเป็น 31.8% ของนโยบายไข่ไก่ปลอดกรงทั้งหมด ร้านอาหารเป็นอันดับสอง หรือ 21.2% บริษัทผู้ผลิตอาหารมีจำนวนมากเป็นอันดับสามหรือ 18.2% คาเฟ่และเบเกอรี่อยู่ในลำดับที่สี่ หรือ 12.1% ตามด้วย ธุรกิจการให้บริการด้านอาหาร 7.6% ร้านค้าปลีก 6.1% และธุรกิจการท่องเที่ยว 3%

grafico-02.jpg

อุปสรรค

สาเหตุที่ทำให้บริษัทยังไม่เปลี่ยนไปใช้ไข่ไก่ปลอดกรงที่การกล่าวถึงมากที่สุด ได้แก่: 

inspection.png

การกระจายสินค้า: ข้หวัดนก ส่งผลกระทบต่อแหล่งผลิตและปริมาณไข่ไก่ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไข่ไก่จากแหล่งผลิตปลอดกรงมีจำนวนไม่พอในบางประเทศ เช่นประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน นอกจากนี้โรคระบาดโควิด-19 ก็ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน การผลิตและการเข้าถึงไข่ไก่ปลอดกรง 

money-management.png

ราคาไข่ไก่ไร้กรงที่สูง เมื่อเทียบกับไข่ไก่จากกรงตับ และผู้บริโภคไม่ยินดีที่จะจ่ายแพงขึ้น

chaine-dapprovisionnement.png

จำนวนผู้ผลิตไข่ไก่ไร้กรงที่ได้มาตรฐานยังค่อนข้างจำกัด

big-data.png

การเก็บและรวบรวมข้อมูลการใช้ไข่ไก่จากบริษัทที่มีสาขาในหลายภูมิภาคอาจทำให้มีอุปสรรคต่อการคำนวนการใช้ไข่ไก่โดยเฉลี่ยทั่วโลก

marketer.png

ราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น ผู้ผลิตลังเลที่จะลงทุนในฟาร์มเพราะตลาดมีความไม่แน่นอนสูง

bottom of page